About
Personnel
Research
Spatial database
Service
Activity
Sitemap
 


  ระบบฐานข้อมูลดินเค็ม ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  



Large Image

ชื่อหนังสือ   :
ปีพิมพ์   :
จัดทำโดย   :


รายละเอียด   :

  ระบบฐานข้อมูลดินเค็ม ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
  พ.ศ. 2550
  ศูนย์ภูมิสารสนเทศเพื่อการพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
  มหาวิทยาลัยขอนแก่น

  ดินเค็มเป็นปัญหาที่สำคัญประการหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งมีแนวโน้มแพร่กระจายมากขึ้น รัฐบาลได้ให้ความสำคัญในการป้องกันการแพร่กระจายของดินเค็มในภูมิภาค ดังนั้นวัตถุประสงค์ของฐานข้อมูลเชิงพื้นที่ที่จัดทำขึ้นเพื่อจัดเก็บฐานข้อมูลในเชิงพื้นที่ของศักยภาพพื้นที่ที่เสี่ยงต่อการเกิดดินเค็ม รวมทั้งระบบฐานข้อมูลองค์ประกอบที่ทำให้ดินเค็มแพร่กระจาย โดยมีพื้นที่การศึกษาครอบคลุมทั้งภาคตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งมีเนื้อที่ประมาณ 170,000 ตารางกิโลเมตร ในฐานข้อมูลจะประกอบด้วยฐานข้อมูลเชิงพื้นที่เชื่อโยงกับฐานข้อมูลคุณลักษณะ โดยมีชั้นข้อมูลองค์ประกอบและชั้นข้อมูลผลลัพธ์หรือชั้นข้อมูลศักยภาพพื้นที่เกิดดินเค็ม ชั้นข้อมูลองค์ประกอบ ได้แก่ ชั้นข้อมูลธรณีวิทยา ชั้นข้อมูลภูมิสัณฐาน ชั้นข้อมูลสิ่งปกคลุมดิน และชั้นข้อมูลปริมาณและคุณภาพน้ำบาดาล ส่วนชั้นข้อมูลศักยภาพพื้นที่เกิดดินเค็มเป็นชั้นข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์แบบซ้อนทับของชั้นข้อมูลองค์ประกอบดังกล่าวมาแล้ว ชั้นข้อมูลต่างๆเหล่านี้สามารถสืบค้นโดยใช้โปรแกรม ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ Arc View เป็นรายจังหวัด รายอำเภอ และรายลุ่มน้ำย่อย ฐานข้อมูลดังกล่าวใช้ประโยชน์ในการกำหนดมาตรการในการวางแผนป้องกันการแพร่กระจายและเป็นแนวทางทำแผนยุทธศาสตร์ในการใช้ประโยชน์ของพื้นที่ดินเค็มให้เหมาะสม ลดความเค็ม และใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างยั่งยืน

  + ความเป็นมาของโครงการ
  + พื้นที่ศึกษา
  + วิธีการศึกษา
  + ผลการศึกษาและวิจารณ์ผล
  + สรุปผลการศึกษา
  + บรรณานุกรม
  + ภาคผนวก
  + ภาคผนวก ก
  + ภาคผนวก ข
 
 
GECNET Home Contact us