About
Personnel
Research
Spatial database
Service
Activity
Sitemap

Photo Gallery
External Sources of Funds
 Intellectual property

  LINKS :

Khon Kaen University
Faculty of Science, Khon Kaen University
สทอภ | GISTDA
ศูนย์ภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
วารสารสมาคมสำรวจข้อมูลระยะไกลและสารสนเทศภูมิศาสตร์แห่งประเทศไทย (สสสท)

 


  เกี่ยวกับศูนย์  


  หลักการ  

          ในช่วงเวลาที่ผ่านมาได้มีการดำเนินการและมีโปรแกรมการวิจัยต่อเนื่องหลายโครงการในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปัญหาของภูมิภาคที่เกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติ พื้นที่เสี่ยงภัย และการใช้ที่ดินผิดประเภท เป็นปัญหาที่ทราบกันอย่างดีการตัดไม้ทำลายป่าเพื่อใช้ประโยชน์ที่ดินด้านเกษตรกรรมมีอัตราสูงขึ้นเป็นลำดับในช่วงสามทศวรรษที่ผ่านมา มีผลสืบเนื่องต่อระบบอุทกวิทยาของน้ำผิวดินและทรัพยากรของดิน ตลอดจนเร่งความเป็นเกลือของดิน ภัยพิบัติไม่ว่าจะเป็นความแห้งแล้ง น้ำท่วม มีผลกระทบต่อ วิถีชีวิตและเศรษฐกิจของภูมิภาค รวมทั้งมีภาวะคุกคามต่อการผลิตอาหารของภูมิภาค ตลอดจนการใช้ที่ดินผิดประเภทการนำที่ดินที่เหมาะสมกับการเกษตรใช้เพื่ออุตสาหกรรมและเพื่อพัฒนาเป็นแหล่งอยู่อาศัยทำให้ต้นทุนในการผลิตสูงขึ้นเป็นปัญหาด้านสังคมและเศรษฐกิจ ก่อนที่จะได้รับการพัฒนาสู่เป้าหมายควรมีการวางแผนงานเชิงพื้นที่สารสนเทศและระบบสนับสนุนการตัดสินใจเกี่ยวกับทรัพยากรที่ดินและประเด็นที่เกี่ยวข้องมีความจำเป็นต้องรวบรวมและแสดงในเชิงพื้นที่
          ในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมามากกว่าทศตวรรษของการพัฒนาวิชาการด้าน การรับรู้จากระยะไกลและระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น มีการดำเนินการหลายโครงการ เช่น การประเมินที่ดิน ภูมิอากาศ เทคโนโลยีด้าน Remote Sensing และ GIS กอร์ปด้วยการสนับสนุนอย่างต่อเนื่องจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (ปัจจุบัน GISTDA) องศ์การ CIDA รัฐบาลฝรั่งเศสมีผลของงานเป็นที่ยอมรับกันอย่างทั่วไปในด้านการจัดทำฐานข้อมูล การเผยแพร่ผลงานทางวิชาการที่เกี่ยวข้อง
          มากไปกว่านี้การสนับสนุนจากเจ้าหน้าที่ศูนย์คอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้สร้างสมรรถนะ ในการพัฒนายิ่งขึ้นและเทคโนโลยีด้าน Remote Sensing และ GIS เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางในการได้มา ซึ่งข้อมูลเชิงพื้นที่และเป็นเครื่องมือวิเคราะห์ในการบูรณาการในแง่ของข้อมูลเชิงพื้นที่ การวิจัยในการประยุกต์ของการรับรู้จากระยะไกล ด้วยข้อมูลจากดาวเทียม เพื่อทำแผนที่เฉพาะกิจ การบูรณาการข้อมูลเชิงพื้นที่มีประสิทธิภาพและเป็นที่ยอมรับด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เทคโนโลยีด้านนี้เป็นเทคโนโลยีที่ใช้กันอย่างแพร่หลายมีความเป็นไปได้สูงในการจำลองสถานการณ์เชิงพื้นที่ ซึ่งต้องใช้เทคโนโลยีที่มีราคาสูงและการพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่องและบทบาทของสถานบันในด้านการวิจัยในสาขานี้จึงมีความชัดเจนในแง่ของภาพของมหาวิทยาลัยในโลกโลกาภิวัฒน์ และใช้ประโยชน์ในระดับชุมชน


  วัตถุประสงค์  

ศูนย์ฯ ได้ก่อตั้งขึ้นในปี 2545 โดยมีวัตถุประสงค์ :

  • เพื่อหาแนวทางบูรณาการ ในการพัฒนาฐานความรู้ด้านทรัพยากร ภัยพิบัติ และการใช้ที่ดินด้วย Remote Sensing และ GIS
  • เพื่อสร้างสมรรถนะของเทคโนโลยีระดับสูงทางด้าน Remote Sensing และ GIS
  • เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีในการสนับสนุนนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น และนักวิชาการทางวิทยาศาสตร์ ตลอดจน หน่วยงานในภูมิภาคในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

  เครื่องมือ  
  ภาพถ่ายดาวเทียม

          ข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมหลายประเภทใช้ในโครงการ เพื่อได้มาซึ่งข้อมูลเชิงพื้นที่ของโลก ได้ข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม Landsat, SPOT Ikonos, Quick bird ในรูปแบบเชิงตัวเลขซึ่งให้บริการโดย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) GISTDA



 

 
   เครื่องมือในการวิเคราะห์
          การวิเคราะห์ข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมเป็นเทคโนโลยีระดับสูง ต้องการซอฟร์แวร์ด้านระบบประมวลผลภาพ ด้านวิเคราะห์เชิงพื้นที่ ที่ต้องใช้ระบบคอมพิวเตอร์ราคาสูง จากการสนับสนุนอย่างต่อเนื่องของมหาวิทยาลัย และหน่วยงานภายนอก ปัจจุบันศูนย์ฯ มีสมรรถนะในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นตลอดจนการสร้างโมเดลเชิงพื้นที่ ด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ที่ทันสมัยมีระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ของมหาวิทยาลัย และระบบทางด่วนเชิงตัวเลขเพื่อส่งข้อมูลจากสถานีรับภาพถ่ายดาวเทียมที่ได้สนับสนุนจาก GISTDA



  การดำเนินงาน  

  การวิจัย

          จำนวนโครงการวิจัยที่ได้นำเสนอส่วนใหญ่จะเน้นปัญหาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งมีโครงการที่จะดำเนินการ ได้แก่ :
  • การประยุกต์ข้อมูล RADARSAT เพื่อกำหนดพื้นที่เสี่ยงภัยน้ำท่วม
  • การวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงภัยแล้งด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์และข้อมูลจากภาพถ่ายดาวเทียม
  • การประเมินที่ดินสำหรับพืชเศรษฐกิจ
  • ความหลากหลายของ ระบบนิเวศของพื้นที่
  • การประเมินกษัยการของดิน
  • การวิจัยพื้นฐานด้าน Remote Sensing และ GIS

 
 
   การสร้างฐานข้อมูลเชิงพื้นที่

          ด้วยสภาพการณ์ และฐานความรู้ที่ได้รับจากหลายโครงการฯ ศูนย์ ฯ ได้นำฐานความรู้ต่าง ๆ เพื่อสร้างเป็นระบบฐานข้อมูล เพื่อใช้งานต่อไป ปัจจุบันมีมากกว่า 25 ชั้นข้อมูล แผนที่ที่ได้สร้างขึ้น ครอบคลุมทั้งภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น ฐานข้อมูลทรัพยากรที่ดิน ทรัพยากรน้ำ ทรัพยากรป่าไม้ ข้อมูลโครงสร้างพื้นฐานในรูปเชิงตัวเลข

  เครือข่ายทางวิชาการ

          กิจกรรมด้านเครือข่ายได้มุ่งเป้าความร่วมมือกับศูนย์ภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศซึ่งจัดตั้งขึ้นโดย GISTDA ได้แก่ ศูนย์ฯ ภาคใต้ (มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์) ภาคเหนือ (มหาวิทยาลัยเชียงใหม่) ภาคเหนือตอนล่าง (มหาวิทยาลัยนเรศวร) และภาคตะวันออก (มหาวิทยาลัยบูรพา) โดยได้ร่วมมือทางด้านการวิจัยวิชาการ ในหลายรูปแบบที่เกี่ยวข้อง เช่น การถ่ายทอดเทคโนโลยี การวิจัย และการแลกเปลี่ยนความรู้ในเชิงวิชาการ

  การสนับสนุนนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา
          มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้จัดทำหลักสูตร ระดับปริญญาโท ในสาขาการรับรู้จากระยะไกลและระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ สังกัดคณะวิทยาศาสตร์ในปี พ.ศ. 2540 นักศึกษาได้ใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ และการสนับสนุนของเจ้าหน้าที่ เพื่อการเรียน การสอน และการทำวิทยานิพนธ์ นอกจากนี้ยังให้บริการแก่นักศึกษาคณะต่าง ๆ เพื่อให้มีโอกาสนำข้อมูลไปใช้เพื่อพัฒนาศักยภาพ

  โปรแกรมถ่ายทอดเทคโนโลยี
          กิจกรรมด้านการถ่ายทอดเทคโนโลยี ได้นำเสนอสู่ชุมชนวิชาการ โดยการจัดสัมมนาและฝึกจัดอบรมด้าน Remote Sensing & GIS เพื่อนำเสนอผลงานมาของโครงการสู่ชุมชน นอกจากนี้นักวิชาการของโครงการก็ได้ร่วมประชุมระดับชาติ/นานาชาติ เพื่อนำเสนอผลของกิจกรรมตลอดจนมีผลงานการวิจัยที่ได้พิมพ์ในวารสารระดับชาติและนานาชาติ

 



 
GECNET Home Contact us