Large Image |
ชื่อหนังสือ :
ปีพิมพ์ :
จัดทำโดย :
รายละเอียด : |
ระบบฐานข้อมูลการเปลี่ยนแปลงเนื้อที่ป่าไม้
ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า
พ.ศ. 2550
ศูนย์ภูมิสารสนเทศเพื่อการพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
มหาวิทยาลัยขอนแก่น
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเป็นรูปแบบหนึ่งของการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ ระบบนิเวศและแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า ที่มีมาตรการในการอนุรักษ์ที่เข้มงวด ระบบฐานข้อมูลเชิงพื้นที่ของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า จึงมีความจำเป็นเพื่อเป็นฐานในการตรวจสอบความเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ในอนาคต ในฐานข้อมูลนี้ประกอบไปด้วยความเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ป่าไม้ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง จังหวัดเลย และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูสีฐาน จังหวัดกาฬสินธุ์ และจังหวัดมุกดาหาร ในฐานข้อมูลพื้นที่ป่าไม้ในเขตฯ ภูเขียว เป็นฐานข้อมูลที่วิเคราะห์จากภาพถ่ายดาวเทียม Landsat TM ของปี 2538 เปรียบเทียบกับปี 2548 ในเขตฯ ภูหลวง เป็นฐานข้อมูลที่วิเคราะห์ในปี 2519, 2541 และ 2548 ซึ่งเป็นการวิเคราะห์เปรียบเทียบหลายช่วงเวลา ส่วนในเขตฯ ภูสีฐานได้วิเคราะห์ความเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ป่าไม้ในปี 2533, 2540 และ 2548 เปรียบเทียบในฐานข้อมูลได้จัดเก็บข้อมูลเชิงพื้นที่เชื่อมโยงกับข้อมูลคุณลักษณะ
ผลจากการวิเคราะห์โดยสรุปพบว่า ในระยะเวลาของการจัดตั้งเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว ภูหลวง และภูสีฐาน มีอัตราการลดลงของพท้นที่ป่าไม้ในเขตประมาณ 2 ตร.กม./ปี 15 ตร.กม./ปี และ 0.2 ตร.กม./ปี ตามลำดับ นอกจากนี้ในระบบฐานข้อมูลแต่ละปี ได้จำแนกประเภทของป่าไม้และการใช้ที่ดินประเภทต่างๆในระดับมาตราส่วน 1: 50000 ฐานข้อมูลเหล่านี้จะใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงด้านการอนุรักษ์พื้นที่ป่าไม้นิเวศวิทยาและแหล่งที่อยู่อาศัยในอนาคต
+ ความเป็นมาของโครงการ
+ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว
- ที่ตั้งและอาณาเขต
- สภาพภูมิประเทศ
- สภาพภูมิอากาศ
- ชนิดป่าและพรรณไม้
- การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน
+ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง
- ที่ตั้งและอาณาเขต
- สภาพภูมิอากาศ
- สภาพภูมิประเทศ
- ชนิดป่าและพรรณไม้
- ทรัพยากรสัตว์ป่า
- การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน
+ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูสีฐาน
- ที่ตั้งและอาณาเขต
- สภาพภูมิประเทศ
- สภาพภูมิอากาศ
- ชนิดป่าและพรรณไม้
- ทรัพยากรสัตว์ป่า
- การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน
+ บรรณานุกรม
+ ภาคผนวก
|