Large Image |
ชื่อหนังสือ :
ปีพิมพ์ :
จัดทำโดย :
รายละเอียด : |
ระบบฐานข้อมูลพื้นที่อ่อนไหวต่อสิ่งแวดล้อม
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
พ.ศ. 2550
ศูนย์ภูมิสารสนเทศเพื่อการพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
มหาวิทยาลัยขอนแก่น
พื้นที่อ่อนไหวต่อสิ่งแวดล้อมเป็นสารสนเทศที่ใช้ในงานการอนุรักษ์ การจัดการ เพื่อพัฒนาสู่ความยั่งยืน การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักคือ การสร้างสารสนเทศเชิงพื้นที่ที่อ่อนไหวต่อสิ่งแวดล้อมโดยทั่วไป ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยใช้พื้นที่คุ้มครองด้านสิ่งแวดล้อมและพื้นที่เสี่ยงด้านกายภาพอื่นๆได้แก่ อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธ์สัตว์ป่า การใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ความลาดชันของพื้นที่ พื้นที่เสี่ยงดินเค็ม ชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ และพื้นที่ชุ่มน้ำ เป็นต้น ซึ่งได้กำหนดเงื่อนไขระดับความอ่อนไหวต่อสิ่งแวดล้อมไว้เป็น อ่อนไหวมาก ปานกลาง และพื้นที่อื่นๆ ผลการศึกษาพบว่า ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีพื้นที่อ่อนไหวต่อสิ่งแวดล้อมมาก ปานกลาง และพื้นที่อื่นๆ คิดเป็นร้อยละ 17.84 31.11 และ 51.05 ตามลำดับ และยังได้แสดงแผนที่ในระดับ 1:50,000 พร้อมทั้งแสดงเนื้อที่พื้นที่อ่อนไหวต่อสิ่งแวดล้อมรายจังหวัด สามารถใช้ประโยชน์ในการคุ้มครองหรือประเมินผลกระทบได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยระบบมีการจัดเก็บชั้นข้อมูลปัจจัยแยกแต่ละชั้น หากบางปัจจัยเปลี่ยนแปลงไป ก็สามารถดำเนินการได้อย่างรวดเร็ว
+ หลักการและเหตุผล
+ วัตถุประสงค์
+ วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง
+ ขอบเขตการศึกษา
+ พื้นที่ศึกษา
+ วิธีการศึกษา
+ ผลการศึกษา
+ สรุป
+ ข้อเสนอแนะ
+ เอกสารอ้างอิง
+ ภาคผนวก
- พื้นที่อุทยานแห่งชาติ
- พื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์ป่า
- พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ
- พื้นที่ชุ่มน้ำระดับนานาชาติและระดับชาติ
- ชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ
- ความลาดชันของพื้นที่
- พื้นที่เสี่ยงต่อดินเค็ม
- พื้นที่ป่าริมน้ำ
- พื้นที่อ่อนไหวต่อสิ่งแวดล้อม
|