About
Personnel
Research
Spatial database
Service
Activity
Sitemap
 


  ระบบฐานข้อมูลพื้นที่เสี่ยงภัยแล้ง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  



Large Image

ชื่อหนังสือ   :
ปีพิมพ์   :
จัดทำโดย   :


รายละเอียด   :

  ระบบฐานข้อมูลพื้นที่เสี่ยงภัยแล้ง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
  พ.ศ. 2550
  ศูนย์ภูมิสารสนเทศเพื่อการพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
  มหาวิทยาลัยขอนแก่น

  ความแห้งแล้งเป็นปัญหาหลักที่สำคัญอย่างหนึ่งของประเทศไทย ภัยแล้งที่เกิดขึ้นมีหลายสาเหตุด้วยกัน ทั้งปัญหาปริมาณน้ำฝนไม่เพียงพอและการกระจายของฝนไม่ทั่วถึง พื้นที่ไม่มีแหล่งกักเก็บน้ำเพียงพอและความสามารถที่จะอุ้มน้ำของดินต่ำ ตลอดจนแหล่งน้ำต่าง ๆ ที่มีอยู่ตื้นเขิน ทำให้น้ำไหล่บ่าลงสู่แม่น้ำสายหลักต่างๆ และไหลลงทะเล สถานะภาพของภัยแล้งเป็นปัญหาที่รัฐบาลทุกยุคทุกสมัยให้ความสำคัญมาเป็นลำดับ การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างระบบฐานข้อมูลเชิงพื้นที่และพัฒนาระบบสารสนเทศพื้นที่เกี่ยวกับสถานะภาพพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดภัยแล้ง ด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์และข้อมูลจากดาวเทียมสำรวจทรัพยากร ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสภาวะภัยแล้งเป็นฐานข้อมูลปัจจัย แล้วนำมาวิเคราะห์เป็นฐานข้อมูลพื้นที่เสี่ยงภัยแล้ง ซึ่งแบ่งการวิเคราะห์เป็น 4 ส่วนคือ 1) วิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงภัยแล้งเชิงอุตุนิยมวิทยา ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูลน้ำฝนเฉลี่ยรายปี 264 สถานี 2) วิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงภัยแล้งเชิงอุทกวิทยา ได้จากการวิเคราะห์ระยะทางที่ห่างจากแหล่งน้ำ ขอบเขตชลประทานความหนาแน่นของลำน้ำ ปริมาณและคุณภาพน้ำใต้ดิน 3) วิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงภัยแล้งเชิงกายภาพ ได้จากการวิเคราะห์ซ้อนทับข้อมูลระหว่างภูมิสัณฐาน กับสภาพการระบายน้ำของดินร่วมกับสภาพการใช้ที่ดิน 4) วิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงภัยแล้งภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้จากการซ้อนทับเชิงแมทริกซ์ (Matrix Overlay) ของพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งเชิงอุตุนิยมวิทยา พื้นที่เสี่ยงภัยแล้งเชิงอุทกวิทยา และพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งเชิงกายภาพ ผลการศึกษาการรวบรวมฐานข้อมูลปัจจัยที่ใช้ในการวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงภัยแล้งภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้แก่ ขอบเขตพื้นที่จังหวัด อำเภอ ตำบล ตำแหน่งหมู่บ้าน ปริมาณน้ำฝน เส้นชั้นความสูง ความลาดชันของพื้นที่ แหล่งน้ำ ลำน้ำ ขอบเขตโครงการชลประทาน ลักษณะภูมิสัณฐาน แหล่งน้ำใต้ดิน ขอบเขตหน่วยแผนที่ดิน การใช้ประโยชน์ที่ดิน และเส้นทางคมนาคม นำฐานข้อมูลปัจจัยเหล่านี้มาวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงภัยแล้ง ทำให้ได้ระบบฐานข้อมูลพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งที่มีการจัดเก็บข้อมูลเป็นชั้น ๆ แต่ละชั้นจะประกอบด้วย ฐานข้อมูลภาพ (Graphic database) และฐานข้อมูลคุณลักษณะ(Attribute database) โดยมีโครงสร้างฐานข้อมูลตามมาตรฐานของกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ซึ่งจัดเก็บในรูปแบบ Coverage file ที่สามารถเปิดดูข้อมูลได้จากโปรแกรมประยุกต์ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ทั่วไปเช่น Arc/Info ArcView เป็นต้น นอกจากนี้ยังสามารถสืบค้นหาพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งรายหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ รวมทั้งรายลุ่มน้ำย่อย ฐานข้อมูลที่สร้างขึ้นนี้ สามารถใช้ในการแสดงประเด็นพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งด้วยสารสนเทศที่มีพิกัดตำแหน่ง

  + หลักการและเหตุผล
  + วัตถุประสงค์
  + พื้นที่ศึกษา
  + วิธีการศึกษา
  + ผลการศึกษา
  + สรุป
  + ข้อเสนอแนะ
  + บรรณานุกรม
 
 
GECNET Home Contact us