About
Personnel
Research
Spatial database
Service
Activity
Sitemap

Photo Gallery
External Sources of Funds
Intellectual property

  LINKS :

Khon Kaen University
Faculty of Science, Khon Kaen University
สทอภ | GISTDA
ศูนย์ภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
วารสารสมาคมสำรวจข้อมูลระยะไกลและสารสนเทศภูมิศาสตร์แห่งประเทศไทย (สสสท)

 

  Photo Gallery : ภาพกิจกรรม 

  ภาพกิจกรรม >> ปี 2553
Seminar on "Forefront and Challenging Geospatial Technologies for Environmental and Disaster Management
in Southeast Asia"

Saturday, 27th November, 2010 , Phatumwan Princess Hotel, Bangkok
การสัมมนาวิชาการเชิงปฏิบัติการ เรื่อง "ก้าวไกลกับเทคโนโลยีอวกาศ ดาวเทียม THEOS และภูมิสารสนเทศเพื่อการพัฒนา"
ระหว่างวันที่ 7-8 กันยายน 2553 ณ โรงแรมเจริญธานีปริ๊นเซส จ.ขอนแก่น
            จากที่สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) เล็งเห็นความสำคัญของการพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ให้เป็นความรู้ไร้พรมแดนเพื่อเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาทั้งในระดับประเทศ ระดับภูมิภาค และในระดับท้องถิ่น จึงได้มอบหมายให้ศูนย์ภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับ ศูนย์ภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ภาคเหนือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สถานภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ภาคเหนือตอนล่าง มหาวิทยาลัยนเรศวร ศูนย์ภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ภาคตะวันออก มหาวิทยาลัยบูรพา ศูนย์ภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จัดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง "ก้าวไกลกับเทคโนโลยีอวกาศดาวเทียม THEOS และภูมิสารสนเทศเพื่อการพัฒนา" เพื่อเผยแพร่การใช้ประโยชน์เทคโนโลยีด้านการสำรวจทรัพยากรธรรมชาติด้วยดาวเทียม การหาพิกัดตำแหน่งบนพื้นโลกด้วยดาวเทียม และระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ นำเสนอผลงานวิชาการงานวิจัยในด้านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ เพื่อการพัฒนาพื้นที่อย่างยั่งยืน และผู้เข้าร่วมประชุมได้แลกเปลี่ยนความรู้ และประสบการณ์ด้านวิชาการเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ
GISTDA DAY : ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษา
วันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2553 ณ ห้องประชุมชั้น 2 อาคารวิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
            โครงการฝึกอบรม "GISTDA DAY: ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์สำหรับนักเรียนมัธยม" เป็นกิจกรรมที่ทางศูนย์ภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร่วมมือกับสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ถือได้ว่าเป็นกิจกรรมสำคัญยิ่ง ที่ศูนย์ภูมิภาคฯ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้มีโอกาสและมีส่วนร่วมในการเผยแพร่ความรู้ด้านเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศให้แก่เยาวชน อันจะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติ ต่อไปในอนาคต
การประชุมเชิงปฏิบัติการ “China – Thailand Geo-Informatics Workshop Series I: Agricultural Applications”
ระหว่างวันที่ 30 มิ.ย. - 2 ก.ค. 2553 ณ เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี
            สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิ สารสนเทศ (องค์การมหาชน) : สทอภ. และ Institute of Remote Sensing Applications (IRSA), Chinese Academy of Science (CAS) สาธารณรัฐประชาชนจีน ได้ดำเนินโครงการ วิจัย "Geo-Informatics Technology fro Land Suitability in Growing Certain Crops" ภายใต้บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วม มือด้านเทคโนโลยีการสำรวจระยะไกลและการประยุกต์ใช้ตามพระดำริของสมเด็จพระ เทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในการเสริมสร้างความร่วมมือและมิตรภาพระหว่างนักวิชาการในสาขาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ซึ่งภายใต้โครงการฯ ดังกล่าว ได้กำหนดจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ "China - Thailand Geo-Informatics Workshop Series I: Agricultural Applications" ขึ้น ในการประชุมครั้งนี้ ผศ.ดร.รัศมี สุวรรณวีระกำธร ผู้อำนวยการ และ รศ. ดร.ชรัตน์ มงคลสวัสดิ์ ที่ปรึกษา ศูนย์ภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้เข้าร่วมประชุม เพื่อการแลกเปลี่ยนทัศนคติและนำเสนอผลงานการวิจัยด้านการประยุกต์ใช้ เทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศเพื่อการเกษตร อีกทั้งหารือข้อตกลงความร่วมมือการพัฒนาด้านเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ระหว่างประเทศไทยและประเทศจีน
            ศูนย์ภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ศูนย์คอมพิวเตอร์ มีภารกิจในการให้บริการวิชาการแก่สังคม ทางด้านเทคโนโลยีการรับรู้จากระยะไกลและระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ได้มีการจัดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเป็นประจำทุกปี ในปีนี้ได้ดำเนินการจัดระหว่างวันที่ 19 -29 เม.ย. 2553 เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้และวิธีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการรับรู้จากระยะไกลและระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ในการวางแผนจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแบบยั่งยืน แก่นักวิชาการ บุคลากร และเจ้าหน้าที่ที่สนใจจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน อีกทั้งบุคลากรจากโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา เพื่อนำเทคโนโลยีการรับรู้จากระยะไกลและระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ไปใช้ประโยชน์ด้านการเรียนการสอนและการทำวิจัย โดยได้จัดให้มีทั้งส่วนบรรยายความรู้ ภาคปฎิบัติ และการออกภาคสนาม เพราะนอกจากผู้เข้ารับการฝึกอบรมจะได้รับความรู้ทางด้านเทคโนโลยีการรับรู้จากระยะไกลและระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์แล้ว ยังได้ฝึกปฏิบัติการใช้ประโยชน์เทคโนโลยี และการฝึกอบรมนี้นับเป็นการตอบสนองนโยบายของรัฐในการกระจายโอกาสทางการศึกษาด้านเทคโนโลยีการรับรู้จากระยะไกลและระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์สู่ภูมิภาค

 

 

 
 
 
GECNET Home Contact us